[ad_1]
หาคำตอบทุกข้อสงสัย ครูกายแก้ว คือใคร ปมร้อนเอา หมาและแมวบูชายัญ ประวัติ การขอพร เหรียญบูชาราคาแพง และใช้ทองคำไหว้สักการะ
จากกระแสเกี่ยวกับความเชื่อในเรื่อง ครูกายแก้ว ที่กำลังตกเป็นที่พูดถึงในสังคมเป็นอย่างมาก เกี่ยวกับประวัติความมา เป็นจนกระทั่งมาถึงพิธีการบนบานสานกล่าว ที่คนในโซเซียลรายหนึ่งไปแนะนำว่า ถ้าจะบูชาครูกายแก้ว ให้สัมฤทธิ์ผลต้องบูชายัญ ด้วยสุนัขและแมว จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอย่างหนักนั้น
ผู้สื่อข่าวเดินทางไปยังเทวาลัยสถานบางใหญ่ ต.เสาธงหิน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี เพื่อพูดคุยกับ นายณัฐวุฒิ รัตนสุข อายุ 42 ปี ผู้ก่อตั้งเทวลัยพระพิฆเนศบางใหญ่ ซึ่งภายในเทวลัยแห่งนี้ มีรูปปั้นครูกายแก้วขนาดเท่าคนจริง ประทับอยู่ที่เทวลัยแห่งนี้มานานกว่า 4 ปี เพื่อเปิดให้ผู้คนที่มีความเชื่อได้เดินทางมาสักการะได้ตลอดเวลา เนื่องจากเทวลัยแห่งนี้เปิด 24 ชั่วโมง
- ประวัติ เทวาลัย ที่ตั้งรูปปั้นครูกายแก้ว
นายณัฐวุฒิ รัตนสุข ผู้ก่อตั้งเทวลัยสถานแห่งนี้ เปิดเผยว่า สถานที่แห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 62 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสืบต่อเจตนารมณ์บรมครูอาจารย์สุชาติ รัตนสุข ผู้ก่อตั้งเทวาลัยพระพิฆเนศ ห้วยขวาง พระตรีมูรติที่แยกราชประสงค์ เศรษฐีชุมพรที่ธนาคารกสิกรสำนักงานใหญ่
ตนในฐานะที่เป็นหลานของอาจารย์สุชาติ ซึ่งได้ร่ำเรียนสืบทอดวิชาต่อมาจากอาจารย์สุชาติ ไม่ต้องการให้วิชาเหล่านี้สูญหายไป จนเห็นว่าในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของอาจารย์สุชาติเอง ยังไม่มีเทวาลัยสถานที่เปิดให้ผู้คนเข้ามากราบสักการะอย่างเป็นทางการ
จนกระทั่งต่อมา ตนมาได้พื้นที่บริเวณบางใหญ่และเห็นว่าการสร้างเทวาลัยพระพิฆเนศแห่งนี้จะเป็นสาธารณะประโยชน์แก่ทุกคน และให้ทุกคนมีที่พึ่งพิงทางจิตใจไม่ต้องเดินทางไกล จึงได้ตัดสินใจใช้พื้นที่แห่งนี้สร้างเป็นเทวาลัยสถาน อัญเชิญรูปเคารพเทพเทวาต่าง ๆ รวมทั้งรูปปั้นของครูกายแก้วด้วย
ซึ่งเป็นบรมครูที่อาจารย์สุชาติ รัตนสุข ให้ความเคารพนับถือ มาตั้งแต่หลังสร้างเทวลัยสถานแห่งนี้เมื่อปี 2562 เพื่อให้ผู้คนมากราบไหว้ขอพรตามความเชื่อได้ 24 ชั่วโมง ไม่มีวันปิด
- ประวัติครูกายแก้ว
นายณัฐวุฒิ เปิดเผยว่า ที่มาของครูกายแก้ว เกิดจากพระสงฆ์รูปหนึ่งที่จังหวัดลำปาง ได้ไปนั่งกรรมฐานที่นครวัด จนไปพบกับดวงจิตของครูกายแก้ว จากนั้นก็ได้รูปปั้นครูกายแก้วติดตัวกลับมาด้วย ก่อนรูปปั้นดังกล่าวจะตกไปอยู่กับ อ.ถวิล แล้วก็ตกทอดมาสู่ อ.สุชาติ รัตนสุข อีกทอดหนึ่ง ซึ่ง อ.สุชาติก็ได้นำรูปปั้นเก็บไว้ที่สำนักที่ย่านบางพลัดมานานกว่า 40 ปี
ต่อมา อ.สุชาติได้นิมิตรเห็นรูปลักษณ์ รูปร่างของครูกายแก้ว จึงได้เรียกช่างม่ปั้นรูปเหมือนครูกายแก้วตามแบบที่นิมิตรเห็นคือเป็นรูปครูกายแก้วในปางยืน ซึ่งเป็นองค์ปฐมต้นแบบ ก่อนจะมาสร้างเป็นปางนั่งในภายหลัง
นายณัฐวุฒิ เปิดเผยอีกว่า ตนในฐานะหลานของ อ.สุชาติ ซึ่งได้ศึกษาเรียนรู้หลักต่างๆ มาจาก อ.สุชาติ ซึ่งเป็นต้นสายของการบูชาครูกายแก้ว ท่านได้กำชับเตือนกับตนเอาไว้ว่า ห้ามเด็ดขาด อย่านำของสดไปไหว้บูชาครูกายแก้ว ให้นำแต่ผลไม้ ดอกไท้ ขนมหวาน หรือทองคำไปไหว้สักการะเท่านั้นพอ
ไม่มีของสดหรือของมึนเมาใดๆ ท่านได้สั่งห้ามไว้เด็ดขาด ซึ่งที่ผ่านมาจะเป็นที่ทราบกันดีในกลุ่มผู้นับถือครูกายแก้วที่มีอยู่ประมาณ 300 – 400 คนว่า ครูกายแก้วไม่ชอบของสด การตั้งโต๊ะทำพิธีจึงใช้วิธีจำลองขนมหรือถั่วต่าง ๆ ให้เป็นรูปของสดต่าง ๆ แทน ทั้งหัวหมู ไก่ เป็ด กุ้ง เป็นต้น
จนกระทั่งเมื่อเริ่มมีกลุ่มผู้ศรัทธาเพิ่มขึ้น อ.สุชาติจึงตัดสินใจนำรูปปั้นครูกายแก้วออกไปตั้งให้ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาได้กราบไหว้ที่แรกคือที่เทวลัยพระพิฆเนศห้วยขวางและที่อาเขต
- สุนัขหรือแมวบูชายัญครูกายแก้ว
นายณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า ประเด็นที่มีผู้คนในโซเซียลไปแนะนำว่าให้นำสุนัขหรือแมวไปบูชายัญครูกายแก้วนั้น เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะจากที่ตนศึกษากับ อ.สุชาติมา อ.สุชาติไม่เคยทำพิธีบูชาด้วยของสดแม้แต่ครั้งเดียว การจะบูชาครูกายแก้วไม่จำเป็นต้องไปเบียดเบียนชีวิตใครก็สามารถขอพรได้แล้ว แต่นี้แค่เริ่มต้นก็ไปทำกรรมแล้วไม่เป็นมงคล
แล้วจะไปรับสิ่งที่เป็นมงคลได้อย่างไร ตนขอพูดและฝากไปถึงคนที่คิดวิธีดังกล่าวด้วยในฐานะคนต้นสาย เพราะที่ผ่านมาตนก็กราบไหว้บูชามา 3-4 ปีแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมาทำตามกระแสในตอนนี้ การบูชาครูกายแก้วต้องบูชาให้ถูกต้องต้องมากราบไหว้ท่านด้วยความศรัทธา และท่านก็ไม่ใช่เทพและไม่ใช่อสูร เพร่ะชื่อของท่านก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นครู และยังเป็นครูที่ อ.สุชาติ ท่านนับถือเป็นครูของท่านอีกองค์
ซึ่งในแต่ละปี อ.สุชาติเอง ก็จะทำการปั้นรูปบูชาครูต่าง ๆ ของท่านออกมาปีละองค์ ดังนั้นเมื่อต้นสายยังไม่ไหว้ของสดเลย ก็อย่าไปพิเรนทร์คิดอะไรเองขึ้นมา ให้ทำตามแบบที่เขาปฎิบัติกันมาเท่านั้น
- ขอพรครูกายแก้ว
ขอพรหากขอการเงินก็ให้จับมือซ้ายแล้วอธิษฐาน การงานก็ให้จับมือขวาแล้วอธิษฐานแค่นั้นก็ขอ เมื่อได้ผลสำเร็จก็แค่กลับมาไหว้ท่านเท่านั้น ครูกายแก้วไม่ได้ต้องการอะไรจากเรา นอกจากสัจจะเท่านั้นที่เป็นเรื่องสำคัญ ตามที่ อ.สุชาติบอกไว้
เหรียญบูชาครูกายแก้วราคาแพง
ส่วนกระแสวัตถุมงคลของครูกายแก้วที่กำลังเป็นมีราคาสูงขึ้นไปมากนั้น ตนเชื่อว่าวัตถุมงคลของครูกายแก้วจะรุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่ก็ล้วนแต่มีความศักดิ์สิทธิ์เท่ากัน และยืนยันว่าทางต้นสายนี้ไม่มีการปั่นราคาวัตถุมงคลให้ขึ้นราคาไม่ใช่วิธีการของสายนี้
นายณัฐวุฒิ กล่าวปิดท้ายว่า กระแสโจมตีครูกายแก้ว ที่บอกว่าไม่มีในประวัติศาสตร์หรือเป็นตัวเวตาลบ้างนั้น ตนขอเรียนว่าเรื่องบางสิ่งบางอย่างต้องลองเปิดใจดูก่อน บางเรื่องเป็นปัจจัตตังที่รู้ได้เฉพาะตน ซึ่งตนก็ไม่ขอไปก้าวล่วงครูบาอาจารย์ของใคร เพราะแต่ละคนตนก็เชื่อว่าทุกคนก็ย่อมมีครูบาอาจารย์ที่เคารพนับถือกันทุกคนอยู่แล้ว
อย่างองค์พระพิฆเนศเอง หรือพระพรหมก็ดี ตนถามว่าเคยมีใครเห็นตัวเป็นๆ ของท่านไหม ทุกอย่างอยู่ที่ความศรัทธาและความเชื่อของบุคคล แค่ความเชื่อและความศรัทธานั้นไม่ได้ไปเบียดเบียนชีวิตใคร เราก็มีสิทธิศรัทธาในความเชื่อของเราเอง
ตนของยืนยันตรงนี้ว่าครูกายแก้วคือ ครูบาอาจารย์ เวตาลก็คือเวตาล ครูกายแก้วก็คือครูกายแก้วอย่าเอาไปเหมารวมกัน ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของครูกายแก้วนั้น ที่ผ่านมาก็ลูกศิษย์หรือคนที่มาบนบานขอพรจนสำเร็จเดินทางนำสร้อยทองคำมาถวายเป็นประจำ ซึ่งปัจจุบันมีน้ำหนักรวมประมาณ 50 บาท ซึ่งทางเทวลัยก็จะนำทองเหล่านี้ไปหลอมสร้างพระประธานในวาระต่างๆ ต่อไป
ความเชื่อต่อครูกายแก้ว
ทางด้านนายวันชัย ทุมพา อายุ 36 ปี อาชีพพ่อค้าขายอาหาร ที่เดินทางมากราบไหว้ครูกายแก้ว เปิดเผยว่า ตนเดินทางมากราบไหว้ครูบากายแก้วบ่อย หลายครั้งแล้ว ส่วนใหญ่จะมาขอพรในเรื่องโชคลาภและค้าขาย เพร่ะตนมีอาชีพค้าขายของตามตลาด ซึ่งหลังจากมาขอพรก็รู้ากว่าจะค้าขายดีขึ้นืยอดขานดีขึ้น ซึ่งเทวลัยแห่งนี้รอกจากจะมีครูกายแก้วแล้วยังมีเทพเจ้าอีกหลายองค์ให้มากราบไหว้ขอพรกันอีกหลายองค์
น.ส.ธิดาพร อายุ 31 ปี อาชีพรับราชการ เปิดเผยว่า ตนตะเดินทางมากราบไหว้ครูบากายแก้วอาทิตย์ละครั้งเพราะบ้านอยู่ไม่ไกล ส่วนใหญ่จะมาขอพรเรื่องโชคลาภ การงาน ซึ่งก็ได้ผลทุกครั้ง ถูกหวยบ่อย ส่วนหน้าที่การงานก็ดีขึ้นได้ขยับตำแหน่งขึ้น ยิ่งช่วงที่ตนไม่สบายใจก็จะเดินทางมาบ่อยขึ้น เรื่องครูกายแก้วเป็นเรื่องความเชื่อเป็นวิจารณญานของแต่ละบุคคล แต่ตนเชื่อ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะตนมากราบไหว้เป็นประจำร่วมปีกว่าแล้ว
[ad_2]
Source link