Friday, 8 November 2024

‘เมืองโบราณศรีเทพ’ รับรองเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เดือนกันยายน ปี2566

[ad_1]

ปัจจุบันแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติในประเทศไทยที่คัดเลือกโดยองค์การยูเนสโก(UNESCO) มี 5 แห่งด้วยกัน นั่นก็คือ มรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แห่ง คือ

  • เมืองประวัติศาสตรสุโขทัยและเมืองบริวาร จ.สุโขทัยปี 2534
  • นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวารปี 2534
  •  แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จ.อุดรธานี ปี 2535

ส่วนมรดกโลกทางธรรมชาติมี 2 แห่งคือ

  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง 
  • ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ครอบคลุม 6 จังหวัด 

ล่าสุดอาจทำให้คนไทยสับสน เนื่องจาก เมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ จะได้รับการรับรองเป็นขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ของยูเนสโก ในเดือนกันยายนปี 2566 

ส่วนกลุ่มเทวสถานปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำและปราสาทปลายบัด จ.บุรีรัมย์ ยังไม่ได้รับรองเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ล่าสุดยังจัดอยู่ในรายชื่อบัญชีมรดกโลกเบื้องต้น ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ เมื่อปี 2562  ณ สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน

'เมืองโบราณศรีเทพ' รับรองเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เดือนกันยายน ปี2566

มาทำความรู้จักทั้งกลุ่มเทวสถานปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำและปราสาทปลายบัด จ.บุรีรัมย์ และ เมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์

กลุ่มเทวสถานปราสาทพนมรุ้ง

ปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่ที่ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ หนึ่งในปราสาทหินขอมที่มีชื่อเสียงของไทย เป็นโบราณสถาน ศิลปะแบบเขมรที่มีความงดงามทั้งด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และภาพแกะสลัก 

ศาสนสถานของปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่องค์พระศิวะ เทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดู ตามลัทธิไศวนิกาย เขาพนมรุ้งและปราสาทบนยอดเขาจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสอันเป็นที่ประทับของพระศิวะ

นอกจากนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของศูนย์กลางจักรวาล โดยกลุ่มปราสาทบนยอดเขามีการก่อสร้างหลายยุคสมัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15-18  ปรากฎชื่อผู้สร้างคือ “นเรนทราทิตย์” เชื้อสายราชวงศ์มหิธรปุระ ผู้เกี่ยวข้องเป็นพระญาติกับพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างปราสาทนครวัด

 

 

 

'เมืองโบราณศรีเทพ' รับรองเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เดือนกันยายน ปี2566

อาคารสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ไม่ได้สร้างขึ้นมาพร้อมกัน ในช่วงแรกมีการสร้างศาสนสถานตามความเชื่อราวพุทธศตวรรษที่ 15 ได้แก่ ปราสาทอิฐ 2 หลังที่ปัจจุบันอยู่ในสภาพพังทลายเหลือเพียงฐานและกรอบประตู หลังจากนั้นได้มีการก่อสร้างต่อเนื่องตามลำดับโดยผู้นำที่ปกครองชุมชน โดยมีปราสาทพนมรุ้งเป็นศูนย์กลาง

ปราสาทเมืองต่ำ

ตั้งอยู่ทางใต้ของบารายใหญ่ที่โดนถมบางส่วน เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ก่อสร้างด้วยอิฐ ศิลาแลง และหินทราย แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ประกอบด้วยอาคารสถาปัตยกรรม

  • 1. กลุ่มปราสาท 

สิ่งก่อสร้าง 5 หลังสร้างด้วยอิฐ แผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ในแถวหน้ามีปราสาท 3 องค์เรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ ส่วนแถวหลังมีปราสาทอีก 2 องค์ตั้งสับหว่างอยู่ ปราสาทเหล่านี้สร้างแบบธรรมดาๆเนื่องจากอยู่ในสภาพปรักหักพัง และยังถูกแก้ไขดัดแปลงเอาวัสดุจากซากโบราณสถานไปใช้

  • 2. ระเบียงคดชั้นใน 

ระเบียงส่วนนี้ล้อมรอบกลุ่มปราสาท 5 องค์ ถูกสร้างขึ้นไปโดยบางส่วนของผนังยังไม่เสร็จจนถึงชั้นที่ต่อกับโค้งประทุนที่ทำหลังคา เป็นระบบของระเบียงคดแคบๆ

ด้านนอกเป็นผนังตันเต็มๆ เปิดเป็นช่องหน้าต่างหันเข้าลานโล่งด้านใน ตรงกลางของระเบียงคดทั้งสี่ด้านเป็นที่ตั้งของโคปุระ ถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่

โบราณสถานทั้งหมดตั้งอยู่บนเนินสูง โดยทำเป็นกำแพงกันดินมีลวดลายบัวประดับเป็นฐาน หน้าต่างจริงหน้าต่างหลอกมีขนาดใหญ่และประดับด้วยลูกมะหวด 7 ต้น

'เมืองโบราณศรีเทพ' รับรองเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เดือนกันยายน ปี2566ภาพจากกรมศิลปากร

  • 3. สระน้ำภายใน 

ระเบียงคดชั้นในถูกล้อมรอบด้วยสระน้ำรูปมุมฉากกว้างประมาณ 15 เมตร เว้นช่วงกลางของแต่ละด้านด้วยทางเดินกว้าง 10 เมตร ที่เข้าสู่โคปุระชั้นใน มีมุมแบ่งเป็นสระ 4 สระ ขอบสระชั้นบนทำด้วยศิลาทรายเป็นรูปลำตัวนาค ซึ่งส่วนหัวยื่นออกหรือหันเข้าสู่ส่วนมุม

  • 4. กำแพงแก้วชั้นนอก 

เป็นกำแพงศิลาแลง ล้อมรอบกลุ่มอาคารภายในเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตรงส่วนกลางแต่ละด้านเป็นที่ตั้งของโคปุระขนาดใหญ่สร้างด้วยศิลาทราย มีประตูทางเข้า 3 ประตู

'เมืองโบราณศรีเทพ' รับรองเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เดือนกันยายน ปี2566

'เมืองโบราณศรีเทพ' รับรองเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เดือนกันยายน ปี2566ปราสาทปลายบัด จ.บุรีรัมย์

ประกอบด้วยโบราณสถานในคติความเชื่อของขอม ปราสาทเขาปลายบัด 1 และ 2 ห่างจากปราสาทพนมรุ้งไปทางทิศใต้ประมาณ 5.5 กิโลเมตร จากปราสาทเมืองต่ำไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 1.4 กิโลเมตร เป็นศาสนสถานที่สร้างบนเขาปลายบัดมีความสูง 289 เมตร

ปราสาทปลายบัด สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 โดดเด่นในเรื่องการสร้างระบบการจัดการน้ำ เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่สำคัญ ด้วยการดัดแปลงปากปล่องภูเขาไฟเป็นสระน้ำ มีการสร้างคันบังคับน้ำเชื่อมต่อกับแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อให้ไหลลงสู่บารายของปราสาทเมืองต่ำ ในการหล่อเลี้ยงน้ำสู่ชุมชนบนพื้นที่ราบ

ปราสาทปลายบัด 1 ตั้งอยู่บนยอดเขาปลายบัด ปัจจุบันพบเพียงปราสาทประธานและอาคารบริวารที่ตั้งอยู่ด้านหน้า 2 หลัง ตัวปราสาทมีลักษณะเป็นอาคารผังสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุม สร้างด้วยหินทรายและอิฐ มีประตูทางเข้าทางทิศตะวันออก ส่วนอีกสามด้านเป็นประตูหลอก ขอบประตูมีลวดลาย บางตอนเข้าใจว่าเป็นปราสาทที่สร้างไม่แล้วเสร็จ 

ปราสาทปลายบัด 2 ตั้งอยู่บนสันเขา ห่างจากปราสาทปลายบัด 1 ไปทางทิศตะวันตกราว 1 กิโลเมตร รูปแบบผังเป็นแบบเดียวกับปราสาทปลายบัด 1

ปรากฎการณ์ธรรมชาติปราสาทหินพนมรุ้ง

ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ขึ้นและตกตรง 15 ช่องประตูปราสาทหินพนมรุ้ง จะเกิดขึ้นครั้งที่ 3 วันที่ 8-10 ก.ย. 66 พระอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 05.57 น.และครั้งที่ 4 วันที่ 5-7 ต.ค. 66 พระอาทิตย์ตก เวลาประมาณ 17.55 น.

ปรากฏการณ์ธรรมชาติดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในละวัน หากมีเมฆฝนตก อาจไม่สามารถชมปรากฏการณ์ดังกล่าวได้

'เมืองโบราณศรีเทพ' รับรองเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เดือนกันยายน ปี2566เมืองโบราณศรีเทพ เพชรบูรณ์

ตั้งอยู่ในอำเภอศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 107 กิโลเมตร เมืองโบราณแห่งนี้เป็นเมืองซ้อนเมืองขนาดใหญ่ ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมและศาสนาหลากหลายแบบผสมผสาน ทั้งทวารวดี และขอม คาดว่าอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี

'เมืองโบราณศรีเทพ' รับรองเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เดือนกันยายน ปี2566ความเจริญของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม สันนิษฐานว่า อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11- 16 การสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีเมืองโบราณศรีเทพ กรมศิลปากรพบว่า มีความเก่าแก่มาก อยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ 2,500 ปี และได้ขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ มีอายุเก่าแก่ถึง 1,800 ปี และยุคทวารวดี ที่มีความเก่าแก่ถึง 1,400 ปี

เมืองแห่งนี้มีกำแพงเมืองที่ก่อด้วยดินล้อมรอบ คูเมืองนอกกำแพง ประตูเมืองทั้งสี่ทิศ ภายในเมืองมีปรางค์สมัยลพบุรีอยู่สององค์ เรียกว่า ปรางค์องค์พี่และปรางค์องค์น้อง มีสระน้ำสองแห่ง

ส่วนโบราณสถานที่สำคัญ ปรางค์ที่สร้างด้วยอิฐและศิลาแลงที่เรียกว่าปรางค์ศรีเทพ เป็นสถาปัตยกรรมแบบขอม การขุดค้นเคยพบชิ้นส่วนทับหลังรูปลายสลักราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 สันนิษฐานว่า สร้างเพิ่มหลังจากโบราณสถานเขาคลังใน

'เมืองโบราณศรีเทพ' รับรองเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เดือนกันยายน ปี2566ประติมากรรมพระลักษมีสำริด ปัจจุบันเก็บรักษาที่คลังโบราณวัตถุ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

นอกจากนี้ยังมี เขาคลังใน เชื่อกันว่า เป็นที่เก็บอาวุธและทรัพย์สมบัติต่าง ๆ สร้างพุทธศตวรรษที่ 12-13 ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้ศิลาแลงก่อสร้าง ที่ฐานมีรูปปูนปั้นบุคคล และสัตว์ประดับเป็นศิลปะแบบทวารวดี

อีกโบราณถสถาน เขาคลังนอกเป็นมหาสถูปที่ขุดพบในปี พ.ศ. 2555 เหลือเป็นฐานขนาดสูง 5 เมตร ก่อด้วยศิลาแลง โบราณสถานส่วนนี้ถูกเสนอให้เป็นมรดกโลก และปรางค์สองพี่น้อง เป็นปรางค์ 2 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่

จากการขุดแต่งทางโบราณคดี พบทับหลังที่มีจำหลักเป็นรูปพระอิศวรอุ้มนางปารพตี ประทับนั่งอยู่เหนือโคอศุภราช ซึ่งลักษณะของทับหลังและเสา ประดับกรอบประตู เป็นสิ่งกำหนดอายุของปรางค์ ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เป็นศิลปะขอม

'เมืองโบราณศรีเทพ' รับรองเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เดือนกันยายน ปี2566เขาถมอรัตน์ ภูเขาศักดิ์สิทธ์ของชาวเมืองโบราณศรีเทพ

และถ้ำเขาถมอรัตน์ เป็นโบราณที่สำคัญและเสนอขึ้นเป็นมรดกโลก ภายในถ้ำสันนิษฐานว่า เป็นศาสนสถานที่ดัดแปลงจากถ้ำหินปูนธรรมชาติ โดยพบประติมากรรมสลักนูนต่ำหลายชิ้น อาทิ พระพุทธรูป ปางต่างๆ รวม 11 องค์

เมืองโบราณศรีเทพ เคยเป็นเมืองที่มีความสำคัญเชื่อมต่อกับชุมชนโพนทะเล มีร่องรอยเส้นทางการค้า จึงนำมาซึ่งความเจริญทางสถาปัตยกรรมและศิลปะวัฒนธรรม มีการขุดพบเทวรูปจำนวนมาก

เนื่องจากเป็นเมืองที่มีทั้งเมืองชั้นนอก ชั้นใน สระน้ำ จึงมีโบราณวัตถุจำนวนมาก แต่ถูกนำออกไปนอกประเทศ ซึ่งโบราณวัตถุเหล่านั้น มีหลักฐานยืนยันเรื่องการเชื่อมโยงกับศาสนาฮินดูในยุคแรกๆ ทางอินเดีย และมีความต่อเนื่องยุคประวัติศาสตร์ยุคทวารวดี และเขมรยุคปลายศตวรรษที่16

………

อ้างอิง

  • https://worldheritagesite.onep.go.th/sitedetail/18
  • วิกิพีเดีย

ภาพจากเฟซบุ๊ค : อุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทพนมรุ้งและอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

 

 

[ad_2]

Source link