Saturday, 27 July 2024

เคล็ดลับถ่ายภาพฝนดาวตก ต้อนรับการมาของ ‘ฝนดาวตกโอไรออนิดส์’ : PPTVHD36

[ad_1]

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) เผยว่า ในคืนวันที่ 21 เวลาประมาณ 22.30 น. ไปจนถึงรุ่งเช้าวันที่ 22 ต.ค.นี้ จะมีฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ซึ่งเป็นร่องรอยของดาวหางฮัลเลย์ มาเยือนโลกอีกครั้ง! 

ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ จะวนเวียนมาให้เห็นได้ทุกปี ในช่วงวันที่ 2 ต.ค. – 7 พ.ย. ในขณะที่ ‘ดาวหางฮัลเลย์’ ผู้เป็นดาวที่ทิ้งร่องรอยนี้เอาไว้ กลับพบเจอได้ยาก เพราะจะวนมาทุก ๆ 75 – 76 ปีเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นการได้เก็บภาพเศษเสี้ยวของดาวหางฮัลเลย์ ก็เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นไม่ใช่น้อย

เตรียมอุปกรณ์ในการถ่ายภาพฝนดาวตก 

ใจพร้อม อุปกรณ์ก็ต้องพร้อม เพื่อให้ได้เก็บภาพประทับใจได้เหมือนตาเห็น เริ่มจากการเตรียมขาตั้งกล้อง และกล้องที่คมชัด ปรับค่าแสงให้เหมาะสม แล้วเริ่มถ่ายได้เลย 

อุปกรณ์ที่ต้องมี 

  • เป็นกล้องดิจิทัล เลนส์มุมกว้าง ปรับความไวแสงได้สูง (ISO) จะได้เก็บแสงของฝนดาวตกได้ดี 

  • เลนส์ไวแสง จะช่วยให้เก็บแสงได้ดีโดยไม่จำเป็นต้องปรับค่า ISO สูง ๆ เลย 

  • เลนส์มุมกว้าง จะช่วยให้เก็บภาพดาวตกได้ในมุมกว้าง เพิ่มโอกาสถ่ายดาวติดมากขึ้น 

  • ขาตั้งกล้องที่มั่นคง เพราะหากถ่ายด้วยมือ อาจทำให้ภาพสั่นได้ 

ถ่ายภาพฝนดาวตกด้วยกล้องมือถือได้ไหม 

กล้องโทรศัพท์มือถือก็สามารถถ่ายภาพฝนดาวตกได้ แต่จำเป็นต้องมีกล้องที่คุณภาพสูง และมีคุณสมบัติดังนี้ 

  • มี Manual Mode หรือโหมดที่สามารถตั้งค่าเองได้ 

  • สามารถตั้งค่า ISO ได้สูง 

  • สามารถกด Shutter Speed ได้สูง 

  • มีรูรับแสงกว้าง 

  • ปรับ Manual Focus ได้ 

ใครที่มีกล้องโทรศัพท์มือถือที่สามารถตั้งค่าได้ตามนี้ ลองทดลองถ่ายภาพดวงดาวบ่อย ๆ รอถึงวันเกิดฝนดาวตกได้เลย เพื่อหาการตั้งค่าต่าง ๆ ที่เหมาะสมที่สุดกับโทรศัพท์มือถือและฝนดาวตก

ขอบคุณภาพจาก NARIT

เคล็ดลับการถ่ายภาพฝนดาวตกให้ได้ภาพที่ถูกใจ 

นอกจากอุปกรณ์ที่ดีแล้ว ยังมีเคล็ดลับสำหรับการถ่ายภาพฝนดาวตกให้ได้ภาพที่ถูกใจ ด้วยการหาจุดถ่ายภาพที่มืดที่สุด ท้องฟ้าเปิด ตั้งค่า ISO ของกล้องให้สูงที่สุด โดยที่ภาพถ่ายยังมีคุณภาพที่ดี ถ่ายต่อเนื่อง 3-4 ชม. ใช้ค่ารูรับแสงกว้าง และปิดระบบ Long Exposure Noise Reduction เพื่อให้ถ่ายภาพได้อย่างต่อเนื่อง 

และอีกหนึ่งเคล็ดลับคือ ควรหาไฟฉายสีแดงแบบคาดหัว เพราะแสงสีแดงรบกวนสายตาเราน้อยที่สุด ปรับการมองเห็นได้เร็วเมื่อมองไปยังท้องฟ้า และยังหยิบจับอุปกรณ์ได้คล่องแคล่วอีกด้วย 

ดูฝนดาวตกที่ไหนดี 

ใจพร้อม อุปกรณ์พร้อม สถานที่ก็ต้องพร้อมเช่นกัน ดวงดาวนั้นสามารถมองเห็นได้ชัดเมื่อมีแสงน้อย การถ่ายภาพฝนดาวตกในเมือง ก็คงจะมองเห็นได้น้อย เพราะมีแสงไฟมาก ใครอยากไปหาที่ดูดาว ต้องไปตามเช็กลิสต์นี้! 

อุทยานดาราศาสตร์ หอดูดาวในประเทศไทย มีทั้งหมด 4 จุด ตาม 4 ภูมิภาค ได้แก่ เชียงใหม่ ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา และสงขลา  

ยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ที่ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติพุเตย (ตะเพินคี่) เป็นหน่วยย่อยของอุทยานแห่งชาติพุเตย อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นสถานที่ยอดฮิตในการตั้งแคมป์ดูดาวกันเลย 

ตั้งอยู่ที่อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ บนเนินสามารถมองเห็นได้ทั้งชายแดนฝั่งไทยและฝั่งพม่า ไร้แสงรบกวน สามารถดูดาวได้แบบสุดลูกหูลูกตา 

สถานที่ทำกิจกรรมเชิงผจญภัย อยู่ในพื้นที่ที่มีมลภาวะทางแสงน้อย ไม่มีชุมชนอื่นอยู่ในพื้นที่ติดกันทำให้บริหารจัดการแสงสว่างโดยรอบได้อย่างอิสระ มีกิจกรรมดูดาวในช่วงเดือนตุลาคม – เมษายน ตั้งอยู่ที่ ตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี 

อุทยานแห่งชาติภูแลนคา อยู่ที่ตำบลห้วยต้อน อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เป็นพื้นที่โล่งกว้าง และยังมีกิจกรรมต่าง ๆ ให้ทำมากมาย รวมถึงกิจกรรมดูดาวด้วย 

สุดท้ายนี้ นอกจากใช้สายตาเพ่งมองไปที่กล้อง เพื่อได้ภาพสวย ๆ แล้ว อย่าลืมมองฝนดาวตกด้วยตาเปล่า เพื่อเก็บความประทับใจเอาไว้ในใจด้วยนะ

ขอบคุณข้อมูลจาก: Pantip ล่าดาวด้วยมือถือ, NARIT, เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด, Good life by kaidee

TOP ไลฟ์สไตล์

วิดีโอยอดนิยม

เรื่องที่คุณอาจพลาด



[ad_2]

Source link